ความจำเป็นในการติดตั้งระบบน้ำหยดและมินิสปริงเกอร์
เกษตรกรโดยทั่วไปเมื่อลงทุนที่จะปลูกพืช ก็หวังที่จะให้พืชชนิดนั้นเจริญเติบโตและมีผลผลิตที่ดี และเทปน้ำหยดก็สามารถทำกำไรคุ้มค่าต่อการลงทุน การเดินระบบน้ำหยดนั้นสามารถเพิ่มการงอกของพืชและลดการตายของกล้าพันธุ์ และนั่นเท่ากับปลูกพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่าระบบอื่น โดยการให้น้ำในระยะเวลาสั้น เทปน้ำหยดช่วยให้พืชได้รับปริมาณน้ำทุกต้นในปริมาณน้ำที่พอกับความต้องการและ สามารถควบคุมการให้น้ำขณะที่มีน้ำในปริมาณน้อยได้ ในประเทศไทย เรากะเกณฑ์เรื่องปริมาณน้ำที่ทำการเพาะปลูกได้ลำบากมาก ฟ้าฝนไม่ได้ตกต้องตามฤดูกาล แต่การทำระบบน้ำหยดนั้น เทปน้ำหยดสามารถทำให้เกษตรกรปลูกพืชได้ทุกเวลาที่ต้องการ ควบคุมพันธุ์ไม้สำหรับการให้น้ำที่ได้มากถึง 30-50 ไร่ต่อระบบน้ำหยด 1 ชุด
เทปน้ำหยดระบบน้ำหยดเป็นนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแบบต้นทุนต่ำ ลดค่าใช้จ่าย แต่กลับได้ผลผลิตสูง พืชผักผลไม้เจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ เทปน้ำหยดใช้ได้กับพืชผักผลไม้หลายประเภท เช่น ไร่อ้อย มันสำปะหลัง แตงโม ข้าวโพด และอื่นๆ เทปน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีในประเทศไต้หวันและประเทศอังกฤษ เทปน้ำหยดจะช่วยจัดระบบน้ำและช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร
ประโยชน์และข้อดีของการทำระบบน้ำหยดด้วยเทปน้ำหยด
เทปน้ำหยดช่วยประหยัดน้ำ
เทปน้ำหยดช่วยประหยัดเวลา
เทปน้ำหยดช่วยลดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่าย
เทปน้ำหยดราคาถูก ลงทุนน้อย ได้ผลผลิตสูง
เทปน้ำหยดทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
เทปน้ำหยดช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของพืชได้
ระบบน้ำหยดคือ
ระบบน้ำหยดจากเทปน้ำหยดเป็นการให้น้ำแก่พืชโดยการส่งน้ำผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยด ซึ่งจะติดตั้งไว้บริเวณโคนของต้นพืช และน้ำจะหยดจากเทปน้ำหยดซึมลงมาที่บริเวณรากพืชอย่างช้าๆและสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับดินร่วนซุย ทำให้ดินมีความชุ่มชื่นคงที่ในระดับที่พืชต้องการ และส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบน้ำหยดสามรถใช้กับพืชผักอะไรได้บ้าง
ข้าวโพด
แตงโม
องุ่น
มันสำประหลัง
ยางพารา
และอื่นๆ
การเลือกซื้อเทปน้ำหยด
ก่อนเลือกซื้อเทปน้ำหยดควรทราบก่อนว่าเราปลูกพืชหรือผักชนิดใด เพราะพืชแต่ละชนิดจะมีระยะการปลูกไม่เท่ากัน หากทราบระยะการปลูกแล้ว ก็สามารถเลือกเทปน้ำหยดได้ตามต้องการ ยกตัวอย่างเทปน้ำหยดของยี่ห้อวีโกเทค จะมีระยะห่างของน้ำหยดคือ 30เซนติเมตร ซึ่งสามารถใช้กับ ไร่อ้อย มันสำประหลัง ข้าวโพด แตงโมและพืชผักสวนครัวทั่วๆไป
การเลือกปั๊มสำหรับทำระบบน้ำหยดด้วยเทปน้ำหยด
ปั๊มน้ำเป็นเสมือนหัวใจของระบบน้ำหยด เนื่องจากน้ำจะสามารถถูกฉีดออกำจากหัวสปริงเกลอร์ได้ จะต้องมีแรงดันน้ำมาเป็นตัวขับ โดยแรงดันดังกล่าวได้มาจากการทำงานของปั๊มน้ำ การเลือกปั๊มน้ำที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ระบบเทปน้ำหยดไม่สามารถทำงานได้ หรืออาจทำให้ระบบรับภาระเกินความจำเป็นการเลือกปั๊มอย่างง่าย ๆ สามารถทำได้โดยการดูกราฟความสามารถของปั๊มน้ำของผู้ผลิตหรือผู้ซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้น ๆ
- ทนแดด ทนฝน
- สายเทปน้ำหยดไม่แตก ไม่เปลือยง่าย อายุการใช้งานยาวนาน
- ไม่อุดตันง่าย
- วัสดุที่ผลิตเทปน้ำหยดต้องเป็นมิตรต่อธรรมชาติไม่ทำลายพืชผัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น